top of page

คำนวณจุดคุ้มทุน ในธุรกิจการเดินรถ ด้วยรถบัส EV และจัดตั้ง EV Charger

Updated: May 5, 2023

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผมเจ อีกเช่นเคยนะครับ หลังจากที่ห่างหายไปนาน วันนี้ผมอยากจะมาแชร์ประสบการณ์จากงานที่ทำอยู่ ให้ทุกคนได้ฟังกันนะครับ

เรื่องมีอยู่ว่า มีบริษัทนึงทำธุรกิจเกี่ยวกับการเดินรถจากกรุงเทพ ไปยังหัวเมืองในภูมิภาคต่างๆ ได้ติดต่อเข้ามาหาผมและสอบถามว่าเขาจะคุ้มทุนไหมถ้าจะลงทุนซื้อรถบัส EV และทำการจัดตั้งสถานีชาร์จ EV Charger ด้วย


วันนี้เราจะได้มาดูกันครับว่า มีปัจจัยและวิธีการคำนวณอย่างไรบ้างที่จะพอใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการลงทุนครั้งนี้

รถบัส EV
รถบัส EV

ก่อนที่เราจะเริ่มทำการคำนวณจุดคุ้มทุนในธุรกิจนี้ได้นั้น เราต้องทราบถึงต้นทุนในแต่ละส่วนก่อน โดยในที่นี้จะแบ่งออกเป็นต้นทุนของตัวรถบัส EV, ต้นทุนในเรื่องของการจัดตั้งสถานีชาร์จ EV และ ค่าพลังงานในการชาร์จ รวมทั้งค่าพนักงานในการเดินรถ โดยเรามาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรกในหาข้อมูลในส่วนต่างๆกันก่อนเลย


ขั้นตอนที่ 1 - หาข้อมูล


ในเคสนี้เราได้รับโจทย์ให้ทำการศึกษาเส้นทางการเดินรถจากกรุงเทพไปยังภาคอีสาน ซึ่งจุดเริ่มต้นคือที่สถานีขนส่งหมอชิต-->บุรีรียม์ และ บุรีรัมย์ --> หมอชิต โดยในหนึ่งวันเดินรถเที่ยวขาไป 2 เที่ยว และ ขากลับ 2 เที่ยว โดยทางลูกค้าได้มีแผนจะจัดตั้งสถานีชาร์จ EV ที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางในการเดินรถบัส EV (1)
เส้นทางในการเดินรถบัส EV (1)

เส้นทางในการเดินรถบัส EV (2)
เส้นทางในการเดินรถบัส EV (2)

โดยระยะทางเดินรถ จากหมอชิต ไปยัง บุรีรัมย์ มีระยะทางรวมประมาณ 350 กม. ซึ่งรถบัส EV ที่นำมาใช้ในการคำนวณนี้มีระยะวิ่งได้ประมาณ 280 กม. ต่อการชาร์จ และมีหัวชาร์จ CCS Type2 จำนวน 2 พอร์ต ซึ่งสามารถชาร์จได้ที่กำลังไฟสูงสุด 150 kW ต่อพอร์ตชาร์จ รวมเป็นกำลังไฟสูงสุดที่ 300kW

สมมติฐานและผลการคำนวณระยะทางในการเดินรถบัส EV
สมมติฐานและผลการคำนวณระยะทางในการเดินรถบัส EV

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระยะเวลาในการชาร์จที่สถานีชาร์จ สีคิ้ว จะอยู่ที่ประมาณ 20-30 นาที ซึ่งมีระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการจอดพักให้ผู้โดยสารได้เข้าห้องน้ำและรับประทานอาหาร


EV Charger 300 kW แบบ 2 หัว CCS Type 2
EV Charger 300 kW แบบ 2 หัว CCS Type 2

ขั้นตอนที่ 2 - คำนวณหาจุดคุ้มทุน


ขั้นตอนถัดไป เราต้องทำการกำหนด สมมติฐาน ตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถ ดังนี้

สมมติฐานในการคำนวณหาจุดคุ้มทุนรถบัส EV
สมมติฐานในการคำนวณหาจุดคุ้มทุนรถบัส EV

เมื่อเราได้กำหนดตัวแปรต่างๆ แล้ว เราก็ทำการแบ่งค่าใช้จ่ายเป็น Fixed Cost และ Variable Cost ในแต่ละเดือน ดังตารางด้านล่างนี้

ตารางการคำนวณจุดคุ้มทุนธุรกิจรถบัส EV
ตารางการคำนวณจุดคุ้มทุนธุรกิจรถบัส EV

ต่อมาให้เรากำหนด กำไรในการบริหารงาน และนำมารวมกับต้นทุนทั้งหมด เราจะสามารถ นำมาคำนวณหาค่ารายรับ ที่ควรจะเก็บได้ในแต่ละเที่ยวในการให้บริการ

เป้าหมายรายรับในการบริหารการเดินรถบัส EV
เป้าหมายรายรับในการบริหารการเดินรถบัส EV

โดยในส่วนสุดท้ายของการคำนวณ คือการคำนวณหา จุดคุ้มทุน (Break Event Point) จากสูตรการคำนวณ ดังนี้

BEP x = F /(P-V) ; F= Fixed Cost / Month, P = รายรับต่อเที่ยว V = Variable Cost / Trip

ระยะเวลาคืนทุนในการเดินรถบัส EV
ระยะเวลาคืนทุนในการเดินรถบัส EV

จะได้ค่าการคำนวณออกมาที่ 67.86 เที่ยว/ เดือน


ขั้นตอนที่ 3 - สรุปผลและข้อเสนอแนะ


จากตัวอย่างการคำนวณ ข้างต้น เป็นเพียงการกำหนด สมมติฐานในบางตัวแปร ผู้นำไปใช้จะต้องกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ ให้สอดคล้องในแต่ธุรกิจให้ใกล้เคียงค่าความเป็นจริงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายแฝง ที่ทางผู้คำนวณไม่ได้นำมาใช้ในการคำนวณนี้ เช่น ค่าประกันตัวรถบัส EV ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ยังไม่คงที่และค่อนข้างสูงอยู่ในปัจจุบัน สำหรับบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำวิธีในการคำนวณเบื้องต้น เพื่อสามารถนำไปประเมินความคุ้มค่าก่อนการลงทุนได้


บทส่งท้าย

สำหรับท่านใดที่กำลังสนใจในการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจ สถานีชาร์จ EV รวมทั้งการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นแบบมือหนึ่งจากโรงงาน หรือ นำรถน้ำมันเดิมที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้า ก็สามารถติดต่อพูดคุยกับทางทีมงานของเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลยครับ


ช่องทางในการติดต่อกับทีมงาน




Line ID:@228tslca


370 views0 comments
bottom of page